วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2556

หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต
        ปรัชญาของหลักสูตร   
            การจัดการศึกษาในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ของวิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก เน้นการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม และยึดหลักมโนคติหลัก ได้แก่ คน สังคมและสิ่งแวดล้อม สุขภาพการพยาบาล พยาบาลวิชาชีพ การศึกษาพยาบาล และการเรียนการสอน   คณาจารย์ของวิทยาลัยพยาบาลกองทัพบกมีความเชื่อว่ามโนคติหลักทั้ง 7 มีความสำคัญและมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน เมื่อถูกนำมา   เป็นกรอบแนว คิด ในการสร้างหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ซึ่งสะท้อนถึงคุณค่าและความเชื่อ 
        การพยาบาล
            เป็นวิชาชีพที่ให้บริหารด้านสุขภาพอนามัยแก่ บุคคล ครอบครัว และชุมชน โดยการนำความรู้ หลักการและทฤษฎี จากศาสตร์สาขาต่างๆ รวมทั้งผลการวิจัยมาประยุกต์ใช้ในการให้บริการ โดยใช้แนวทางของกระบวนทางการพยาบาล ซึ่งประกอบด้วยการ   ประเมิน การวินิจฉัย การวางแผนการปฏิบัติการพยาบาล และการประเมินผลการพยาบาล จึงเป็นกิจกรรมบริการที่จำเป็นต่อสังคม มี   หน้าที่รับผิดชอบร่วมกับทีมสุขภาพอนามัยในการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกัน โรคการรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสุขอนามัยของบุคคล   ครอบครัว และชุมชน ให้มีสุขภาพอนามัยที่ดี 
        พยาบาลวิชาชีพ
            คือ   พยาบาลที่สำเร็จจากหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต มีความรู้ ความสามารถในการให้บริการด้านสุขภาพ อนามัยของบุคคล ครอบครัว และชุมชน มีความเป็นผู้นำทางการพยาบาลและการทำงานเป็นทีม สามารถประสานงานและทำงานกับบุคคลทุกระดับ ทั้งใน ทีมสุขภาพและทีมอื่นๆ ได้ ตลอดจนเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม มีระเบียบวินัย เคารพสิทธิของบุคคล ทั้งนี้เพื่อให้การดูแลสุขภาพ  อนามัยของบุคคล ครอบครัว และชุมชน มีคุณภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้นรวมทั้งมีการพัฒนานเองและวิชาชีพอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา 
        การศึกษาพยาบาล
            ในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต เป็นการเตรียมผู้เรียนให้เป็นพยาบาลทั่วไป [ Generalist ] ที่สามารถให้การ พยาบาลทั่วไปได้ทุกสถานที่ ทั้งในโรงพยาบาล และชุมชน โดยให้จัดการศึกษาในวิชาพื้นฐานทั่วไป พื้นฐานวิชาชีพ วิชาชีพพยาบาล และวิชาทหาร ตลอดจนจัดประสบการณ์ ด้านการปฏิบัติการพยาบาลที่ครอบคลุม 4 มิติ การป้องกันสุขภาพ การส่งเสริมสุขภาพ การรักษาพยาบาล และ   การฟื้นฟูสุขภาพ และการใช้กระบวนการพยาบาล ในการแก้ไขปัญหาสุขภาพอนามัยของบุคคล ครอบครัว และ ชุมชน ทั้งยังเป็นการ   เตรียมให้ผู้เรียนได้เข้าใจบทบาทของผู้นำด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคและการฟื้นฟูสุขภาพ พร้อมทั้งเตรียมให้เป็นผู้เข้าใจใน กระบวนการวิจัยและการนำผลการวิจัยไปใช้ในการปฏิบัติการพยาบาล
         การเรียนการสอน
            เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาการเสริมสร้างพฤติกรรมการเรียนรู้ทางด้านสติปัญญา เจตคติ และทักษะ โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ผู้สอนเป็นผู้สนับสนุนและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน โดยจัดการเรียนรู้รูปแบบต่างๆ ที่จะส่งเสริมพัฒนาให้ผู้เรียน สามารถคิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาเป็น รวมทั้งฝึกฝน อบรมให้มีลักษณะความเป็นผู้นำ เป็นผู้มีระเบียบวินัยดีทางทหาร มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ สุจริต เป็นแบบอย่างที่ดี วางตัวให้เหมาะสมในฐานะพยาบาลวิชาชีพ นายทหารสัญญาบัตร และพลเมืองที่ดีของประเทศ
         วัตถุประสงค์
      หลักสูตรนี้มีความมุ่งหวังให้ผู้สำเร็จการศึกษามีคุณสมบัติต่อไปนี้  
                      1. สามารถปฏิบัติการพยาบาล โดยใช้กระบวนการพยาบาลให้สอดคล้องกับปัญหา ความต้องการของบุคคล ครอบครัว     และชุมชน เน้นการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมและคำนึงถึง องค์ประกอบทางด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม การศึกษาเทคโนโลยี                      
                      2. ให้บริการด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การพยาบาล และการรักษาตามขอบเขตที่กฎหมายกำหนด ตลอดจนการฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ที่ดีและ การมีคุณภาพชีวิตที่ดีของบุคคล ครอบครัว และชุมชน
                      3. สามารถบริหารงานและนิเทศงานในองค์การพยาบาลและหน่วยงานอื่น ๆ ได้ ตลอดจนสามารถสอนแนะนำ และแก้ไขปัญหาทางการพยาบาล และทางการบริหารได้
                      4. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีประสานงานและการปฏิบัติงานร่วมกับผู้ที่อยู่ในวิชาชีพเดียวกัน และวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                      5. มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ ดำรงไว้ซึ่งคุณธรรมและจริยธรรมแห่งวิชาชีพ รวมทั้งให้ความร่วมมือในกิจกรรมขององค์การวิชาชีพพยาบาล
                      6. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถประเมินผลงาน ปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาตนเอง และวิชาชีพ มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลทันต่อการเปลี่ยนแปลง ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ การศึกษา
                      7. สนับสนุนการและร่วมมือในการศึกษาและการวิจัย ตลอดจนนำผลการวิจัยที่เชื่อถือได้ไปใช้ในการพัฒนาปรับปรุง การพยาบาล ทั้งด้านการศึกษา การบริการ การบริหารและการวิจัย
                      8. มีความรับผิดชอบต่อผู้รับบริการ เคารพสิทธิมนุษยชน และสิทธิของผู้รับบริการทางด้านสุขภาพอนามัย
                      9. ส่งเสริมและดำรงไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณี และศิลปวัฒนธรรมอันดีงาม
                      10. มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อหน้าที่ ต่อวิชาชีพ และต่อประเทศ ในฐานะพยาบาลวิชาชีพ นายทหารสัญญาบัตร และ พลเมืองที่ดีของประเทศ
                      11. เป็นผู้มีระเบียบวินัยทางทหารที่ดี มีความรู้ในการปฏิบัติหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วยในยามปกติและยามสงคราม ตลอดจน ดำเนินการส่งกลับผู้ป่วย โดยทำงานประสานงานกับหน่วยทหารเหล่าอื่นได้

คณะพยาบาลศาสตร์
รายละเอียดของคณะ

เป็นการศึกษาที่มุ่งเน้นในการให้บริการด้านสุขอนามัยแก่ผู้ป่วย และผู้ที่ได้รับบาดเจ็บต่างๆ ตลอดจนการดูแลผู้สูงอายุ การดูแลภาวะเสี่ยงต่อโรคต่างๆ  ภาวะอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย รวมถึงการสังเกตและบันทึกความเปลี่ยนแปลงของคนไข้ รายงานให้แพทย์ทราบถึงอาการผิดปกติที่เกี่ยวกับร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ  ผู้สำเร็จการศึกษาพยาบาล จะเป็นผู้ที่มีความพร้อมในการเป็นพยาบาลวิชาชีพทั้งในด้านความรู้ทักษะ และจริยธรรมของวิชาชีพ สามารถให้การพยาบาลทั่วไปได้อย่างมีคุณภาพทั้งในบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ กับบุคคลทุกวัย ครอบครัว และชุมชนในทุกภาวะสุขภาพ มีภาวะผู้นำ และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ มีพื้นฐานทางปัญญา สามารถปรับตัว เรียนรู้อย่างต่อเนื่องสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ เป็นพลเมืองดี และผดุงไว้ซึ่งความเป็นธรรมและความถูกต้องของสังคม
 สาขาที่เปิดสอน

สาขาวิชาการพยาบาลพื้นฐาน
สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
สาขาวิชาการพยาบาลครอบครัวและผดุงครรภ์
สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก
สาขาวิชาการพยาบาลจิตเวช
สาขาวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน
 คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา

สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายวิทยาศาสตร์ มีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว ไม่มีความพิการหรือทุพพลภาพอันเป็นอุปสรรคต่อการประกอบอาชีพ เช่น หูหนวก ตาบอด หูตึง ตาบอดสี เป็นต้น และมีความตั้งใจที่จะเป็นพยาบาลวิชาชีพ



 แนวทางการประกอบอาชีพ แนวทางการเรียนต่อ

บัณฑิตที่จบการศึกษาทางด้านพยาบาลศาสตร์สามารถประกอบอาชีพรับราชการเป็นพยาบาลในสังกัดโรงพยาบาลของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจต่างๆ หรือเป็นพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชน นอกจากนี้ยังสามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาโท และปริญญาเอกในสาขาพยาบาลศาสตร์ทั้งในและต่างประเทศได้อีกด้วย
 สถาบันที่เปิดสอน

สถาบันอุดมศึกษารัฐบาล
วิทยาลัยพยาบาลสังกัดหน่วยงานอื่น
สถาบันอุดมศึกษาเอกชน


สามารถเข้าดูรายละเอียดเกี่ยวกับคณะอื่นได้ ที่ http://www.trueplookpanya.com ค่ะ
                                                พยาบาลศาสตร์
การพยาบาล หรือ พยาบาลศาสตร์ (อังกฤษ: nursing) ตามความหมายที่ ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ได้ให้ไว้ หมายถึง กิจกรรมการช่วยเหลือผู้ป่วย เพื่อให้อยู่ในสภาวะที่จะต่อสู้การรุกรานของโรคได้อย่างดีที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ทั้งร่างกายและจิตใจ เช่นเดียวกับความหมายของการพยาบาลที่เสนอโดย เวอร์จิเนีย เฮนเดอร์สัน ได้แก่ การพยาบาลคือการช่วยเหลือบุคคล (ทั้งยามปกติและยามป่วยไข้) ในกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ หรือส่งเสริมการหายจากโรค (หรือแม้กระทั่งการช่วยให้บุคคลได้ไปสู่ความตายอย่างสงบ) ซึ่งบุคคลอาจจะปฏิบัติได้เองในสภาวะที่มีกำลังกาย กำลังใจ และความรู้เพียงพอ และเป็นการกระทำที่จะช่วยให้บุคคลกลับเข้าสู่สภาวะที่ช่วยตนเองได้โดยไม่ต้องรับการช่วยเหลือนั้น โดยเร็วที่สุด
เนื้อหา
กิจกรรมสำคัญ
กิจกรรมสำคัญของการพยาบาลได้แก่
  1. การดูแลให้ความสุขสบาย (care and comfort) ช่วยเหลือบุคคลให้สามารถจัดการกับปัญหาทางสุขภาพและการเจ็บป่วย (health illness continuum) ได้ด้วยตนเอง หน้าที่ของพยาบาลจึงมุ่งที่จะวิเคราะห์ข้อมูลทางการพยาบาล เพื่อให้ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล (assesment and diagnosis)
  2. ให้คำแนะนำ คำสอนด้านสุขภาพ (health teaching) เพื่อคงไว้ซึ่งสุขภาพอันดีและส่งเสริมผลการรักษา มุ่งด้านการดูแลตนเอง (self care) ด้วยการส่งเสริมสนับสนุนของสมาชิกในครอบครัว
  3. ให้คำปรึกษา (counselling) ด้านสุขภาพอนามัยทั้งในภาวะปกติ และขณะที่มีภาวะกดดัน อันเป็นเหตุให้สุขภาพเบี่ยงเบนไปจากปกติ
  4. ให้การดูแลด้านสรีรจิตสังคม (physiopsychosocial intervention) โดยการใช้วิธีการพยาบาลการปฏิบัติ
การพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพในปัจจุบัน ได้มีการพัฒนามาเป็นลำดับ ตามการเปลี่ยนแปลงความต้องการด้านบริการสุขภาพของประชาชน และตามความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ทฤษฎีการพยาบาล
เมลลิส (melis 1997:13) ให้ความหมายทฤษฎีว่า เป็นข้อความที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างมโนทัศน์ ทฤษฎีการพยาบาล (nursing theory) เปรียบเสมือนเป็นการสรุปทางความคิดเกี่ยวกับข้อความจริงทางการพยาบาล โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพรรณาปรากฏการณ์ อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์ ทำนายผลที่จะเกิดขึ้น หรือ การควบคุมปรากฏการณ์ทางการพยาบาล
ฟอว์เซท (fawcett 1989) ให้นิยามโดยเน้นที่ปรากฏการณ์ทางการพยาบาล (nursing phenomena) โดยนิยามว่า ทฤษฎีการพยาบาลประกอบด้วยมโนทัศน์ และข้อสันนิษฐาน (proposition) ที่มีความเฉพาะเจาะจงมากกว่าแบบจำลองความคิด ทฤษฎีการพยาบาลจะกล่าวถึงบุคคล สุขภาพ สิ่งแวดล้อม และการพยาบาล และระบุความสัมพันธ์ระหว่างมโนทัศน์ทั้ง 4 ดังกล่าว
จากนิยามดังกล่าว ทฤษฎีการพยาบาลจึงเป็นข้อความแสดงความสัมพันธ์ระหว่างมโนทัศน์ทางการพยาบาลที่พรรณา อธิบาย ทำนาย และควบคุมปรากฏการณ์ทางการพยาบาลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ
สาขาของการพยาบาล
การพยาบาลแบ่งออกได้หลายสาขาคือ

เมื่อเรามีที่ศึกษาในคระพยาบาลแล้ว เราก็ควรรู้จักการแต่งกายและการปฐมพยาบาลเบื้องต้นด้วย

                                                การแต่งชุดในชุดพยาบาล



















การปฐมพยาบาล

การปฐมพยาบาล หมายถึง การให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บ
ณ สถานที่เกิดเหตุ โดยใช้อุปกรณ์เท่าที่จะหาได้ในขณะนั้น ก่อนที่ผู้บาดเจ็บจะได้รับการดูแลรักษาจากบุคลากรทางการแพทย์ หรือส่งต่อไปยังโรงพยาบาล


การปฐมพยาบาลมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ

1. เพื่อช่วยชีวิต
2. เพื่อเป็นการลดความรุนแรงของการบาดเจ็บหรือการเจ็บป่วย
3. เพื่อทำให้บรรเทาความเจ็บปวดทรมาน และช่วยให้กลับสู่สภาพเดิมโดยเร็ว
4. เพื่อป้องกันความพิการที่จะเกิดขึ้นตามมาภายหลังการปฐมพยาบาลแบบต่าง ๆ


การใช้ผ้าสามเหลี่ยม ( Triangular bandages)

การใช้ผ้าสามเหลี่ยม เมื่อมีบาดแผลต้องใช้ผ้าพันแผล ซึ่งขณะนั้นมีผ้าสามเหลี่ยม
สามารถใช้ผ้าสามเหลี่ยมแทนผ้าพันแผลได้ โดยพับเก็บมุมให้เรียบร้อย และก่อนพันแผลต้องพับผ้าสามเหลี่ยมให้มีขนาดเหมาะสมกับบาดแผล และอวั ยวะ



1. การคล้องแขน (Arm sling)

ในกรณีที่มีกระดูกต้นแขนหัก หรือกระดูกปลายแขนหัก เมื่อตกแต่งบาดแผล
และเข้าเฝือกชั่วคราวเรียบร้อยแล้ว จะคล้องด้วยผ้าสามเหลี่ยมตามลำดับดังนี้

1.1 วางผ้าสามเหลี่ยมให้มุมยอดของสามเหลี่ยมอยู่ใต้ข้อศอกข้างที่เจ็บ
ให้ชายผ้าด้านพบพาดไปที่ไหล่อีกข้างหนึ่ง


1.2 จับชายผ้าด้านล่างตลบกลับขึ้นข้างบน ให้ชายผ้าพาดไปที่ไหล่ข้างเดียว
กับแขนข้างที่เจ็บ


1.3 ผูกชายทั้งสองให้ปมอยู่ตรงร่องเหนือกระดูกไหปลาร้า


1.4 เก็บมุมสามเหลี่ยมโดยใช้เข็มกลัดติดให้เรียบร้อย




2. การพันมือ ใช้กรณีที่มีบาดแผลที่มือ ทำตามลำดับดังนี้


2.1 วางมือที่บาดเจ็บลงบนผ้าสามเหลี่ยม จับมุมยอดของผ้าสามเหลี่ยม
ลงมาด้านฐานจรดบริเวณข้อมือ


2.2 ห่อมือโดยจับชายผ้าทั้งด้านซ้ายและขวาไขว้กัน

2.3 ผูกเงื่อนพิรอดบริเวณข้อมือ




แผลงูพิษกัด

1. ดูรอยแผล ถ้างูไม่มีพิษแผลจะเป็นรอยถลอก ให้ทำแผลแบบ แผลถลอก
แล้วถ้าแผลไม่ลุกลามหรือไม่มีอาการอื่น ไม่ต้องไปหาหมอ แผลจะหายเอง ถ้างูมีพิษจะมีรอยเขี้ยว 1 หรือ 2 จุด ให้รักษาตามข้อ 2-7


2. พูดปลอบใจอย่าให้กลัวหรือตกใจ, ให้นอนนิ่งๆ, ถ้าจำเป็นให้เคลื่อนไหวน้อยที่สุด

3. ห้ามให้ดื่มเหล้า ยาดองเหล้า หรือยากล่อมประสาท

4. ห้ามใช้มีดกรีดปากแผล ห้ามบีบเค้นบริเวณแผล เพราะจะทำให้แผลช้ำ

สกปรก และทำให้พิษกระจายเร็วขึ้น.

5. ห้ามขันชะเนาะรัดแขนหรือขา เพราะจะเกิดอันตรายมากขึ้น

6. รีบพาไปหาหมอ, ถ้าเป็นไปได้ควรนำซากงูที่กัดไปด้วย

7. ถ้าหยุดหายใจ ให้ เป่าปากช่วยหายใจ



ผงเข้าตา



ห้ามขยี้ตา , รีบลืมตาในน้ำสะอาด , และกลอกตาไปมาหรือเทน้ำให้ไหลผ่านตา
ที่ถ่างหนังตาไว้ ถ้ายังไม่ออก ให้คนช่วยใช้มุมผ้าเช็ดหน้าที่สะอาดเขี่ยผงออกถ้าไม่ออก ควรรีบไปหาหมอ


บาดแผล
- แผลตื้นหรือแผลมีดบาด (เลือดออกไม่มาก)

1. บีบให้เลือดชะเอาสิ่งสกปรกออกมาบ้าง

2. ถ้ามีฝุ่นผงหรือสกปรก ต้องล้างออกด้วยน้ำสุกกับสบู่

3. ใส่ ทิงเจอร์ใส่แผลสด หรือ น้ำยาโพวิโดนไอโอดีน

4. พันรัดให้ขอบแผลติดกัน

5. ควรทำความสะอาดแผลและเปลี่ยนผ้ากอซวันละ 1 ครั้ง จนกว่าแผลจะหาย




ความดันต่ำ หน้ามืด เวียนศีรษะ



1. ถ้ามีอาการเจ็บหน้าอกรุนแรง, ปวดท้องหรืออาเจียนรุนแรง, ถ่ายอุจจาระดำ,
ใจหวิวใจสั่น, ชีพจรเต้นเร็ว, เหงื่อแตกท่วมตัว, หรือลุกนั่งมีอาการเป็นลม ต้องไปหาหมอโดยเร็ว.

2. ถ้าไม่มีอาการในข้อ 1 ให้ปฏิบัติดังนี้

2.1 ให้นอนลงสักครู่ แล้วลุกขึ้นใหม่โดยลุกช้าๆ อย่าลุกพรวดพราด เช่น ค่อยๆ
ลุกจากท่านอน เป็นท่านั่ง แล้วนั่งพักสักครู่ ขยับและเกร็งขาหลายๆ ครั้ง, แล้วค่อย ๆ ลุกขึ้นยืน, ยืนนิ่งอยู่ สักครู่ แล้วจึงค่อยเดิน

2.2 ถ้ายังมีอาการให้กินยาหอม หรือกดจุด

3. ถ้าเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง ควรไปหาหมอเพื่อตรวจหาสาเหตุ

. ถ้ามีอาการวิงเวียน เห็นบ้านหมุน ดูเรื่อง วิงเวียน เห็นบ้านหมุน
การป้องกัน ให้ออกกำลังกายเพิ่มขึ้นทีละน้อย, นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ, และดื่มน้ำมาก ๆ



สุนัขกัด

1. ให้รีบทำแผลทันที โดยล้างแผลด้วยน้ำสะอาด, ฟอกสบู่หลายๆ ครั้ง,
แล้วชะแผลด้วย แอลกอฮอล์ หรือ ทิงเจอร์ใส่แผลสด หรือ น้ำยาโพวิโดนไอโอดีน

2. รีบพาไปหาหมอ เพื่อพิจารณาฉีดยาป้องกันบาดทะยัก, ฉีดยาป้องกันโรคกลัวน้ำ
และใช้ ยาปฏิชีวนะ



การห้ามเลือด

ถ้าบาดแผลเล็ก กดปากแผลด้วยผ้าสะอาด แล้วพันให้แน่น


2. ถ้าบาดแผลใหญ่ เลือดออกพุ่ง ทำตามข้อ 1 แล้วเลือดยังไม่หยุด ใช้ผ้า เชือก
หรือสายยางรัดเหนือแผล(ระหว่างบาดแผลกับหัวใจ) ให้แน่นพอที่เลือดหยุดไหลเท่านั้น โดยอวัยวะส่วนปลายไม่เขียวคล้ำ หรือถ้าเป็นเลือดพุ่งออกมาจากปลายหลอดเลือดที่ขาดอยู่ ให้ใช้ก้อนผ้าเล็กๆ กดลงตรงนั้นเลือดจะหยุดได้

3. ยกส่วนที่มีเลือดออกให้สูงไว้


เป็นลม

1. ถ้าเป็นลมหมดสติ และหยุดหายใจ , หรือชัก , หรือเป็นลมอัมพาต
(ส่วนหนึ่งส่วนใดของ ร่างกายอ่อนแรงทันที), หรือเป็นลมแน่นอกหรือจุกอก จนหายใจไม่ออก, หรือมีอาการรุนแรง อื่น ต้องไปหาหมอโดยเร็ว.

2. ถ้าเป็นลมหน้ามืด อาจหมดสติจนไม่รู้สึกตัวได้โดยก่อนเป็นลมหน้ามืด
อาจใจหวิวใจสั่น หรือเวียนศีรษะแล้วหมดแรงฟุบตัวลงกับพื้น (มักจะไม่ล้มฟาด) - ให้นอนหงายลงกับพื้น ( ศีรษะไม่หนุนหมอน) แขนขาเหยียด ใช้หมอนหรือสิ่งอื่นรองขา และเท้าให้สูงกว่าลำตัว

- คลายเสื้อผ้าให้หลวมออก เอาฟันปลอมและของในปากออก
- พัดโบกลมให้ถูกหน้าและลำตัว ห้ามคนมุงดู.
- ให้ดมยาหม่องหรือยาดมอื่นๆ หรือกดจุด
- ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำอุ่นเช็ดหน้า และบีบนวดแขนขา

ถ้าไม่ดีขึ้นใน 30 นาที ให้ไปหาหมอ

การป้องกัน

- รักษาสุขภาพให้แข็งแรง เช่น กินอาหารและนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
ออกกำลังกาย สม่ำเสมอ

- หลีกเลี่ยงชนวนที่ทำให้เป็นลมหน้ามืด เช่น ที่แออัดอบอ้าว

3. ถ้าเป็นลมแน่นท้อง เรอลมบ่อยๆ ผายลมบ่อยๆ

- ดื่มน้ำร้อน ๆ หรือน้ำขิง/ข่า/กระชาย (อย่างใดอย่างหนึ่ง)

- กินยาลดกรด ยาขับลม


การป้องกัน

- อย่ากินอาหารจนอิ่มมาก และหลีกเลี่ยงอาหารที่เกิดลมง่าย เช่น นม ถั่ว
อาหารที่ย่อยยาก อาหารค้างหรือเริ่มบูด เป็นต้น

- พูดหรือร้องเพลงให้น้อยลง
- จิบน้ำบ่อยๆ เพื่อไม่ให้กลืนลมโดยไม่รู้ตัว
- ผ่อนคลายความเครียดลง ดูเรื่องกังวล-เครียด



เลือดกำเดาไหล

1. ให้นั่งนิ่งๆ, หงายศีรษะไปด้านหลัง พิงพนักหรือผนัง,หรือนอนหนุนไหล่
ให้สูงแล้วหงายศีรษะพิงหมอน

2. ปลอบใจให้สงบใจ ให้หายใจยาวๆ (ยิ่งตื่นเต้นตกใจ เลือดยิ่งออกมาก)

3. ใช้นิ้วมือบีบจมูกทั้ง 2 ข้างให้แน่น โดยให้หายใจทางปากแทน
หรือใช้ผ้าสะอาดม้วนอุดรูจมูกข้างนั้น หรือ กดจุด

4. วางน้ำแข็งหรือผ้าเย็นบนสันจมูก หน้าผาก และใต้ขากรรไกร

5. ถ้าเลือดไม่หยุด รีบพาไปโรงพยาบาล

6. ถ้ามีเลือดกำเดาออกบ่อย ควรปรึกษาหมอ, อาจเป็นความดันเลือดสูง
หรือโรคอื่น ๆ ได้


การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย


การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยผู้ช่วยเหลือสองคน

วิธีที่ 1 อุ้มและยก เหมาะสำหรับผู้ป่วยรายในรายที่ไม่รู้สึกตัว แต่ไม่ควรใช้
ในรายที่มีการบาดเจ็บของลำตัว หรือกระดูกหัก


ภาพการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยวิธีอุ้มและยก



วิธีที่ 2 นั่งบนมือทั้งสี่ที่จับประสานกันเป็นแคร่ เหมาะสำหรับผู้ป่วยในรายที่ขาเจ็บ
แต่รู้สึกดีและสามารถใช้แขนทั้งสองข้างได้

วิธีเคลื่อนย้าย ผู้ช่วยเหลือทั้งสองคนใช้มือขวากำข้อมือซ้ายของตนเอง
ขณะเดียวกันก็ใช้มือซ้ายกำมือขวาซึ่งกันและกัน ให้ผู้ป่วยใช้แขนทั้งสองยันตัวขึ้นนั่งบนมือทั้งสี่ที่จับประสานกันเป็นแคร่ แขนทั้งสองของผู้ป่วยโอบคอผู้ช่วยเหลือ จากนั้นวางผู้ป่วยบนเข่าเป็นจังหวะที่หนึ่ง และอุ้มยืนเป็นจังหวะที่สอง แล้วจึงเดินไปพร้อมๆ กัน


ภาพการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยวิธีนั่งบนมือทั้งสี่ที่ประสานกันเป็นแคร่



วิธีที่ 3 การพยุงเดิน วิธีนี้ใช้ในรายที่ไม่มีบาดแผลรุนแรง หรือกระดูกหัก
และผู้บาดเจ็บยังรู้สึกตัวดี


การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยวิธีพยุงเดิน

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยผู้ช่วยเหลือสามคน

วิธีที่ 1 อุ้มสามคนเรียง เหมาะสำหรับผู้ป่วยในรายที่ไม่รู้สึกตัว ต้องการอุ้มขึ้น
วางบนเตียงหรืออุ้มผ่านทางแคบ ๆ

วิธีเคลื่อนย้าย ผู้ช่วยเหลือทั้งสามคนคุกเข่าเรียงกันในท่าคุกเข่าข้างเดียว
ทุกคนสอดมือเข้าใต้ตัวผู้ป่วย และอุ้มพยุงไว้ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายดังนี้

คนที่ 1 สอดมือทั้งสองเข้าใต้ตัวผู้ป่วยตรงบริเวณคอและหลังส่วนบน

คนที่ 2 สอดมือทั้งสองเข้าใต้ตัวผู้ป่วยตรงบริเวณหลังส่วนล่างและก้น

คนที่ 3 สอดมือทั้งสองเข้าใต้ขา

ผู้ช่วยเหลือคนที่อ่อนแอที่สุดควรเป็นคนที่ 3 เพราะรับน้ำหนักน้อยที่สุด
เมื่อจะยกผู้ป่วยผู้ช่วยเหลือทั้งสามคน จะต้องทำงานพร้อมๆ กัน โดยให้คนใดคนหนึ่งเป็นออกคำสั่ง ขั้นแรก ยกผู้ป่วยพร้อมกันและวางบนเข่า จากท่านี้เหมาะสำหรับจะยกผู้ป่วยขึ้นวางบนเปลฉุกเฉินหรือบนเตียง แต่ถ้าจะอุ้มเคลื่อนที่ผู้ช่วยเหลือทั้งสามคน จะต้องประคองตัวผู้ป่วยในท่านอนตะแคง และอุ้มยืน เมื่อจะเดินจะก้าวเดินไปทางด้านข้างพร้อมๆ กัน และถ้าจะวาง ผู้ป่วยให้ทำเหมือนเดิมทุกประการ คือ คุกเข่าลงก่อนและค่อย ๆ วางผู้ป่วยลง


การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยวิธีอุ้มสามคนเรียง



วิธีที่ 2 การใช้คน 3 คน วิธีนี้ใช้ในรายที่ผู้บาดเจ็บนอนหงาย หรือ นอนคว่ำก็ได้
ให้คางของผู้บาดเจ็บยกสูงเพื่อเปิดทางเดินหายใจ

1. ผู้ปฐมพยาบาล 2 คนคุกเข่าข้างลำตัวผู้บาดเจ็บข้างหนึ่ง อีกข้างหนึ่ง
ผู้ปฐมพยาบาลอีก 1 คน คุกเข่าข้างลำตัวผู้บาดเจ็บ

2. ผู้ปฐมพยาบาลคนที่ 1 ประคองที่ศีรษะและไหล่ผู้บาดเจ็บ มืออีกข้างหนึ่ง
รองส่วนหลังผู้บาดเจ็บ

้3. ผู้ปฐมพยาบาลคนที่ 2 อยู่ตรงข้ามคนที่ 1 ใช้แขนข้างหนึ่งรองหลังผู้บาดเจ็บ
เอามือไปจับมือคนที่ 1 อีกมือหนึ่งรองใต้สะโพกผู้บาดเจ็บ

4. ผู้ปฐมพยาบาลคนที่ 3 มือหนึ่งอยู่ใต้ต้นขาเหนือมือคนที่ 2 ที่รองใต้สะโพก
แล้วเอามือไปจับกับมือคนที่ 2 ที่รองใต้สะโพกนั้น ส่วนมืออีกข้างหนึ่งรองที่ขาใต้เข่า

5. มือคนที่ 1 และคนที่ 2 ควรจับกันอยู่ระหว่างกึ่งกลางลำตัวส่วนบนของผู้บาดเจ็บ
ผู้ปฐมพยาบาลจะต้องให้สัญญาณลุกขึ้นยืนพร้อม ๆ กัน


การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยวิธีใช้คน 3 คน



การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยใช้ผ้าห่ม

ใช้กรณีที่ไม่มีเปลหามแต่ไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณหลัง

วิธีเคลื่อนย้าย พับผ้าห่มตามยาวทบกันเป็นชั้น ๆ 2-3 ทบ
โดยวิธีการพับผ้าห่มพับเช่นเดียวกับการพับกระดาษทำพัด วางผ้าห่มขนาบชิดตัวผู้ป่วยทางด้านข้าง ผู้ช่วยเหลือคุกเข่าลงข้างตัวผู้ป่วยอีกข้างหนึ่ง จับผู้ป่วยตะแคงตัวเพื่อให้นอนบนผ้าห่ม แล้วดึงชายผ้าห่มทั้งสองข้างออก เสร็จแล้วจึงม้วนเข้าหากัน จากนั้นช่วยกันยกตัวผู้ป่วยขึ้น ผู้ช่วยเหลือคนหนึ่งต้องประคองศีรษะผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่สงสัยว่า ได้รับบาดเจ็บที่คอหรือหลัง


การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยใช้ผ้าห่ม

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยใช้เปลหาม

เปลหรือแคร่มีประโยชน์ในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย อาจทำได้ง่ายโดยดัดแปลงวัสดุ
การใช้เปลหามจะสะดวกมากแต่ยุ่งยากบ้างขณะที่จะอุ้มผู้ป่วยวางบนเปลหรืออุ้มออกจากเปล


วิธีการเคลื่อนย้าย

เริ่มต้นด้วยการอุ้มผู้ป่วยนอนราบบนเปล จากนั้นควรให้ผู้ช่วยเหลือคนหนึ่ง
เป็นคนออกคำสั่งให้ยกและหามเดิน เพื่อความพร้อมเพรียงและนุ่มนวล ถ้ามีผู้ช่วยเหลือสองคน คนหนึ่งหามทางด้านศีรษะ อีกคนหามทางด้านปลายเท้าและหันหน้าไปทางเดียวกัน ซึ่งหมายความว่าผู้ช่วยเหลือที่หามทางด้านปลายเท้าจะเดินนำหน้า หากมีผู้ช่วยเหลือ 4 คน ช่วยหาม อีก 2 คน จะช่วยหามทางด้านข้างของเปลและหันหน้าเดินไปทางเดียวกัน


การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยใช้เปลหาม


วัสดุที่นำมาดัดแปลงทำเปลหาม

1. บานประตูไม้

2. ผ้าห่มและไม้ยาวสองอัน วิธีทำเปลผ้าห่ม ปูผ้าห่มลงบนพื้นใช้ไม้ยาวสองอัน
ยาวประมาณ 2.20 เมตร

- อันที่ 1 สอดในผ้าห่มที่ได้พับไว้แล้ว

- อันที่ 2 วางบนผ้าห่ม โดยให้ห่างจากอันที่ 1 ประมาณ 60 ซม. จากนั้น
พับชายผ้าห่มทับไม้อันที่ 2 และอันที่ 1 ตามลำดับ


การใช้ผ้าห่มมาดัดแปลงทำเปลหามผู้ป่วย



3. เสื้อและไม้ยาว 2 อัน

นำเสื้อที่มีขนาดใหญ่พอๆกันมาสามตัว ติดกระดุมให้เรียบร้อย ถ้าไม่แน่ใจ
ว่ากระดุมจะแน่นพอให้ใช้เข็มกลัดซ่อนปลายช่วยด้วย แล้วสอดไม้สองอันเข้าไปในแขนเสื้อ


การใช้เสื้อมาดัดแปลงทำเปลหาม